หนังสือเดินทาง (Passport)
เป็นเอกสารที่รับรองสัญชาติของผู้ถือ และเป็นเอกสารแสดงตน (identity) ของผู้ถือซึ่งออกให้โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศสำหรับใช้เดินทางระหว่างประเทศ ข้อมูลสำคัญที่ปรากฏบนหนังสือเดินทาง ได้แก่ ชื่อ วันเดือนปีเกิด เพศ และสถานที่เกิดของผู้ถือหนังสือเดินทาง
หนังสือเดินทางไม่ได้ให้สิทธิ์ผู้ถือเข้าไปในประเทศอื่น และไม่ให้ความคุ้มครองหรือสิทธิอื่นๆ ขณะอยู่ต่างประเทศหากไม่มีข้อตกลงพิเศษ แต่ให้สิทธิ์แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางในการเดินทางกลับประเทศที่ออกหนังสือเดินทาง ความคุ้มครองจากข้อตกลงระหว่างประเทศ และสิทธิที่จะได้รับจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้ออกหนังสือเดินทาง แต่จะไม่แสดงที่อยู่ในประเทศที่ออกหนังสือเดินทางของผู้ถือหนังสือเดินทาง
หากหนังสือเดินทางออกโดยประเทศที่ประเทศอื่นไม่รู้จัก หรือมีความสัมพันธ์ด้วย หรือไม่ให้การรับรองสถานะการเป็นประเทศ ประเทศผู้รับอาจไม่ให้บุคคลที่ใช้หนังสือเดินทางเหล่านั้นเข้าประเทศได้
ประเภทหนังสือเดินทาง
หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภท ดังนี้
1. หนังสือเดินทางธรรมดา Ordinary Passport (หน้าปกสีน้ำตาล) ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี มี 66 หน้า ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้
2. หนังสือเดินทางราชการ Official Passport (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม) มีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว มีข้อกำหนดให้ออกให้เฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่างประเทศอนุมัติ เท่านั้น
3. หนังสือเดินทางทูต Diplomatic Passport (หน้าปกสีแดงสด)มีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
3.1 พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3.2 พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
3.3 พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
3.4 ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
3.5 นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
3.6 ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
3.7 ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
3.8 ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
3.9 อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
3.10 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
3.11 ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
3.12 ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
3.13 คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 3.2-3.8
3.14 บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย
4. หนังสือเดินทางชั่วคราว Temporary Passport (หน้าปกสีเขียว)
นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 ประเภทพิเศษ คือ
1. หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
2. หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น
3. เอกสารสำคัญประจำตัวเพื่อใช้แทนหนังสือเดินทาง Certificate of Identity (C.I.) ออกให้กรณีฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางแต่หนังสือเดินทางหมดอายุ หรือสูญหาย และไม่สามารถทำหนังสือเดินทางใหม่ได้ทันตามกำหนดที่ต้องเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งนี้ C.I. สามารถใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้เพียงอย่างเดียว และมีอายุใช้งาน 30 วัน หรือตามระยะเวลาที่ผู้ออกกำหนดนับจากวันที่ออก ผู้ที่ถือ C.I. อาจต้องได้รับการพิสูจน์สัญชาติไทยจากกองตรวจคนเข้าเมืองเมื่อเดินทางถึงประเทศไทยด้วย
การขอทำหนังสือเดินทางไทย
1. หนังสือเดินทางธรรมดา
1.1 การทำหนังสือเดินทางธรรมดาเล่มใหม่ E-Passport
1.1.1 ท่านจะต้องกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มแล้วยื่นต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อตรวจสอบบุคคลต้องห้าม แล้วเจ้าหน้าที่จะจัดให้ถ่ายรูปและเก็บลายนิ้วมือ
1.1.2 การทำ E-passport ผู้ต้องการขอทำ จะต้องมาติดต่อสถานทูตด้วยตนเองเท่านั้น กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ผู้ปกครองจะต้องมาด้วย
1.1.3 การขอหนังสือเดินทางใหม่หรือ E-passport ใช้เวลาทำการ 3 สัปดาห์โดยประมาณ
1.1.4 ค่าธรรมเนียม 130 กาตาร์ริยาล
1.1.5 รับยื่นเอกสาร และถ่ายรูปทุกวันทำการ (อาทิตย์-พฤหัสบดี) เวลา 08.30 - 12.00 น. และ 14.00 - 16.30 น.
1.2 เอกสารที่ต้องเตรียม
1.2.1 บุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
- บัตรประชาชน
- หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
1.2.2 บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี (บิดาและมารดาต้องไปลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันที่ขอทำหนังสือเดินทางด้วย)
(1) กรณีบิดามารดาจดทะเบียนสมรส
1.2.3 กรณีบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี บิดาและมารดาต้องไปลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันที่ขอทำหนังสือเดินทาง เว้นแต่เข้ากรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
2. เอกสารสำคัญประจำตัวเพื่อใช้แทนหนังสือเดินทาง Certificate of Identity (C.I.) หากต้องกลับประเทศไทย
2.1 หลักฐานประกอบ ในกรณีหนังสือเดินทางสูญหาย
2.1.1 ใบแจ้งความ
2.1.2 สำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิม/บัตรประชาชน
2.1.3 สำเนา I.D. กาตาร์ (หากมี)
2.1.4 รูปถ่ายขนาดเดียวกับที่ ใช้ในหนังสือเดินทางจำนวน 3 รูป
2.1.5 แบบฟอร์มคำร้อง จำนวน 1 ชุด
2.2 หลักฐานประกอบ ในกรณีหนังสือเดินทางหมดอายุ
2.2.1 หนังสือเดินทางเล่มเดิม/บัตรประชาชน
2.2.2 สำเนาบัตร I.D.กาตาร์
2.2.3 รูปถ่ายขนาดเดียวกับที่ใช้ในหนังสือเดินทางจำนวน 3 รูป
2.2.4 แบบฟอร์มคำร้อง จำนวน 1 ชุด
หมายเหตุ การขอทำหนังสือเดินทางประเภทอื่น ๆ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมการกงสุล
Sunday - Thursday 7.30 - 15.30 hrs.