หนังสือเดินทาง

หนังสือเดินทาง

วันที่นำเข้าข้อมูล 4 พ.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 มี.ค. 2566

| 14,215 view

หนังสือเดินทาง (Passport)

  หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport) คือหนังสือเดินทางที่มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (Biometric Data) ได้แก่ รูปใบหน้าและม่านตา หรือลายนิ้วมือไว้ใน Contactless Integrated circuit ซึ่งฝังอยู่ในหนังสือเดินทางและมีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของหนังสือเดินทาง

E-Passport ไม่สามารถต่ออายุในเล่มเดิมได้ ดังนั้นเมื่อหนังสือเดินทางหมดอายุ จะต้องขอทำเล่มใหม่ข้อมูลส่วนตัวในหนังสือเดินทางจะอ้างอิงตามข้อมูลในทะเบียนบ้านของผู้ขอหนังสือเดินทางที่ประเทศไทยดังนั้น ชื่อ – สกุลในหนังสือเดินทางเล่มใหม่จะตรงกับหลักฐานทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน โดยจะไม่ขึ้นอยู่กับหนังสือเดินทางเล่มเดิม หากผู้ร้องต้องการให้นามสกุลใน หนังสือเดินทางเป็นนามสกุลหลังการ สมรส/หย่า จะต้องแก้ไขข้อมูลในทะเบียนราษฎร์ก่อนที่จะขอทำหนังสือเดินทาง

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง ที่ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮา เนื่องจากต้องมีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (ถ่ายภาพใบหน้า พิมพ์ลายนิ้วมือ และเก็บข้อมูลม่านตา)

ข้อควรทราบ  : หนังสือเดินทางอายุต่ำกว่า 6 เดือนไม่สามารถเดินทางไปยังประเทศอื่นได้นอกจากกลับประเทศไทย จึงควรมาทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่เมื่อหนังสือเดินทางเหลืออายุประมาณ 7 เดือน

 

*** บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ) สามารถยื่นคำขอมีหนังสือเดินทางทั่วไปได้ 2 แบบ ***

  1. หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 150 กาตาร์ริยาล
  2. หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปอายุ 10 ปี ค่าธรรมเนียม 200 กาตาร์ริยาล

 

ยกเว้นในกรณียื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางครั้งแรกในต่างประเทศที่ผู้ร้องมีชื่อในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร แต่ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ให้ออกหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 5 ปี เท่านั้น เมื่อผู้ร้อง (ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว) ได้ดำเนินการทางทะเบียนราษฎรเสร็จสิ้นแล้ว (ยื่นเรื่องด้วยตนเองที่กรมการปกครอง/หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน) จึงจะสามารถยื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปอายุ 10 ปีได้

การขอทำหนังสือเดินทางไทย
1. หนังสือเดินทางธรรมดา
       1.1 การทำหนังสือเดินทางธรรมดาเล่มใหม่ E-Passport
                - ท่านจะต้องกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มแล้วยื่นต่อสอท. เพื่อตรวจสอบบุคคลต้องห้าม แล้วเจ้าหน้าจะจัดให้ถ่ายรูป เก็บลายนิ้วมือ และแสกนม่านตา
                - การทำ E-passport ผู้ต้องการขอทำ จะต้องมาติดต่อสถานทูตด้วยตนเองเท่านั้น กรณีบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ถึง 20 ปี) ผู้ปกครองจะต้องมาด้วย
                - การขอหนังสือเดินทางใหม่หรือ E-passport ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์จึงจะได้รับเล่มใหม่ ระหว่างรอรับเล่มใหม่ ท่านสามารถเก็บหนังสือเดินทางเล่มเดิม
                  ไว้กับตัวและนำมายกเลิกเมื่อมารับเล่มหนังสือเดินทางใหม่
                - ค่าธรรมเนียม (รับเฉพาะเงินสด)
                  * หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปอายุ 5 ปี ค่าธรรมเนียม 150 กาตาร์ริยาล
                  * หนังสือเดินทางบุคคลทั่วไปอายุ 10 ปี ค่าธรรมเนียม 200 กาตาร์ริยาล 

                - กรณีหนังสือเดินทางหายต้องนำใบแจ้งความ ฉบับภาษาอังกฤษมาประกอบการขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่           

       1.2 เอกสารประกอบในการทำหนังสือเดินทาง คลิกที่นี่
                - บุคคลที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
                      1. บัตรประชาชนพร้อมสำเนา 1 ชุด

                      2. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
                      3. บัตรถิ่นพำนักในกาตาร์ (QID)

                - บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และบิดามารดาจดทะเบียนสมรส
                      1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
                      2. บัตรประชาชนพร้อมสำเนา จำนวน 1 ชุด
                      3. สำเนาสูติบัตรไทย 1 ชุด
                      4. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
                      5. สำเนาทะเบียนสมรส ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
                      6. สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
                      7. สำเนาหน้าบัตรประชาชน ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
                      8. บิดาและมารดาของผู้เยาว์ จะต้องมาลงนามให้ความยินยอมในการออกหนังสือเดินทาง ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ หากบิดาและมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ในกรณีที่บิดามารดาอยู่ที่ประเทศไทย ทั้งบิดาและมารดาต้องทำ “หนังสือให้ความยินยอม” ให้บุตรทำหนังสือเดินทางผ่านสำนักงานเขต [กทม.] หรือผ่านที่ว่าการอำเภอ [ต่างจังหวัด] หรือสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ในประเทศที่พำนักอยู่

                - บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส และผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของมารดา
                      1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
                      2. บัตรประชาชนพร้อมสำเนา จำนวน 1 ชุด
                      3. สำเนาสูติบัตรไทยมาจำนวน 1 ชุด
                      4. สำเนาใบปกครองบุตร หรือ ป.ค. 14 จำนวน 1 ชุด
                      5. สำเนาหน้าบัตรประชาชนของมารดา จำนวน 1 ชุด
                      6. สำเนาหน้หนังสือเดินทางของมารดา จำนวน 1 ชุด
                      7. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
                      8. มารดาของผู้เยาว์ จะต้องมาลงนามให้ความยินยอมในการออกหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ หากมารดาไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้ ในกรณีที่มารดาอยู่ที่ประเทศไทยจะต้องทำ “หนังสือให้ความยินยอม” ให้บุตรทำหนังสือเดินทางผ่านสำนักงานเขต [กทม.] หรือผ่านที่ว่าการอำเภอ [ต่างจังหวัด] หรือสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ในประเทศที่พำนักอยู่

                 - บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ บิดามารดาได้จดทะเบียนหย่าเเล้ว
                      1. หนังสือเดินทางเล่มปัจจุบัน
                      2. สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
                      3. สำเนาสูติบัตรไทยและทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
                      4. สำเนา ใบหย่า ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
                      5. สำเนา ใบปกครองบุตรหรือ ป.ค. 14 หรือ บันทึกการหย่าที่ระบุผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
                      6. บัตรประชาชนพร้อมสำเนาของผู้ปกครองบุตร จำนวน 1 ชุด
                      7. สำเนาหน้า Passport ของบิดามารดา จำนวน 1 ชุด
                      8. กรณีที่บิดามารดาจดทะเบียนหย่าแล้ว ให้ฝ่ายที่มีอำนาจปกครองบุตรเป็นผู้ลงนามในหนังสือยินยอมเพียงฝ่ายเดียว

 

2. หนังสือเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Passport) อายุ 1 ป
     กรณียื่นเรื่องขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับ และมีความจำเป็น เร่งด่วนที่จะต้องเดินทางกลับประเทศไทยหรือไปต่างประเทศ
เอกสารที่จะต้องนำมายื่นมีดังนี้
     1. คำร้องขอหนังสือเดินทาง (กรอกแบบฟอร์มได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
     2. หนังสือเดินทางตัวจริงพร้อมสำเนา หรือ
     3. บัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริงพร้อมสำเนา โดยถ่ายสำเนาด้านหน้าและด้านหลังให้อยู่หน้าเดียวกัน
     4. สำเนาทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
     5. สำเนาตั๋วเครื่องบิน
     6. กรณีหนังสือเดินทางหายต้องมีใบแจ้งความ ฉบับภาษาอังกฤษ
     7. ค่าธรรมเนียม 30 กาตาร์ริยาล (รับเฉพาะเงินสด)
หมายเหตุ เอกสารดังกล่าวให้ถ่ายสำเนามาอย่างละ 2 ชุด 

3. เอกสารสำคัญประจำตัวเพื่อใช้แทนหนังสือเดินทาง - เอกสารเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Travel Document) ใช้สำหรับเดินทางกลับประเทศไทยเท่านั้น
   1. หลักฐานประกอบ ในกรณีหนังสือเดินทางสูญหาย
      1. ใบแจ้งความ
      2. สำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิม/สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน
      3. สำเนาหลักฐานการอยู่ในกาตาร์อย่างถูกกฎหมาย
      4. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง (กรอกแบบฟอร์มได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
      5. สำเนาตั๋วเครื่องบินที่เดินทางกลับประเทศไทย
     

   2. หลักฐานประกอบ ในกรณีหนังสือเดินทางหมดอายุ
      1. หนังสือเดินทางเล่มเดิม/สำเนาบัตรประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน
      2. สำเนาหลักฐานการอยู่ในกาตาร์อย่างถูกกฎหมาย
      3. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทาง (กรอกแบบฟอร์มได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
      4. สำเนาตั๋วเครื่องบิน
      

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

เอกสารประกอบ

Request_passport_Doha_as_of_June_2022.pdf
Info_(Passport)_Draft5.pdf